วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เซียนมะนาวเงินล้าน จ.กำแพงเพชร Self sufficient farm

 เซียนมะนาวเงินล้าน จ.กำแพงเพชร Self sufficient farm              

คุณมานิต อินทรไทยสงค์ เลขที่ 121 ม.13 ต.ทุ่งนิคมโพธิ์ทะเล อ.เมือง จ.กำแพงเพชรหรือในกลุ่มเกษตรกรผู้ปลุกมะนาว จ.กำแพงเพชร ยกให้เป็นมือหนึ่งเรื่องของกรทำมะนาวนอกฤดู สามารถทำกำไรจากการขายผลผลิตมะนาวนอกฤดูได้ทุกปี คุณมานิตบอกว่าพื้นที่ปลุกมะนาวในเขตทุ่งนิคมโพธิ์ทะเล อ.เมือง จ.กำแพงเพชรจะเป็นที่ดอน จะต้องมีการปรับที่ไถพรวนให้ดินร่วนซุยและยกร่องปลูกแบบร่องลูกฟูก หาสายพันธุ์ดีจากต้นแม่พันธุ์ดีมาปลูก คุณมานิตจะเน้นปลูกมะนาวในกลุ่มของพันธุ์แป้นเพราะเป็นสายพันธุ์ที่ออกดอกคิดผลตลอดทั้งปี ผลมีขนาดกลาง ทรงผลแป้น เปลือกบาง และน้ำมีกลิ่นหอมที่สำคัญเป็นพันธุ์ที่ต้องการของตลาด ในการเลือกสายพันธุ์มะนาวดีมาปลูกนั้นจะต้องดูลักษณะของต้นแม่พันธุ์ที่เราต้องการจะขายพันธุ์นั้นควรเป้ฯต้นสาวที่มีอายุประมาณ 1 ปี และไม่เคยผ่านการราดหรือฉีดสารแพคโคลบิวทราโซลมาก่อน เพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของกิ่งพันธุ์หลังจากที่ปลูกลงแปลงไปแล้วสังเกตดูพบว่ากิ่งพันธุ์ที่ผ่านการราดสารจะเจริญเติบโตไม่ดี ประการต่อมาต้นแม่พันธุ์มะนาวจะต้องมีลักษณะของการติดผลดีติดผลดกเป็นพวง พวงละประมาณ 7 – 10 ผล เช่น
พันธุ์แป้นดกพิเศษ จะถือว่าดีมาก ลักษณะของใบใหญ่เป็นมัน นี่เป็นภาพรวมของการคัดเลือกต้นแม่พันธุ์ ที่ชาวสวนจะคัดเลือกจากสวนของตัวเองหรือมองหาจากสวนอื่นมาปลูก
ควรบำรุงรักษามะนาวต้นเล็ก คุณมานิตแนะนำว่า ในการให้ปุ๋ยทางดินกับต้นมะนาวเล็กจะให้ 20 วันต่อครั้ง ปุ๋ยที่ให้จะใช้สูตรยูเรีย (สูตร 46-0-0) ผสมน้ำรดให้ อัตราที่ใช้คือ ปุ๋ยยูเรีย 1 กก. ผสมกับน้ำ 10 ลิตร ประมาณการให้ปุ๋ยยูเรียที่ละลายน้ำแล้วต่อต้นประมาณ 1 แก้วน้ำต่อต้น แต่ก่อนที่จะให้ปุ๋ยแก่ต้นมะนาว ดินควรมีความชื้นเพื่อที่จะทำให้ต้นมะนาวสามารถดูดใช้ปุ๋ยได้ดีขึ้น แต่การราดปุ๋ยระวังอย่ารดปุ๋ยให้ชิดโคนต้นมะนาว ให้ห่างออกมาอย่างน้อย 1 คืบ คือ การใส่ปุ๋ยยูเรียบำรุงต้นมะนาวเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ พบว่าการใช้ปุ๋ยยูเรียให้ต้นจะเจริญเติบโตเร็วกว่าอย่างเห็นได้ชัด ต้นที่ให้ปุ๋ยยูเรียอายุ 1 ปี จะสูงถึง 1.50 – 1.70 เมตรเลยทีเดียว ในขณะที่ต้นที่ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอโตไม่ถึง 1 เมตร แต่เราจะหยุดให้ปุ๋ยยูเรียก็ต่อเมื่อช่วงที่จะเตรียมออกดอกเท่านั้น ต้นมะนาวเล็กมักมีกิ่งกระโดงให้เด็ดปลายยอดทิ้ง ไม่นานกิ่งกระโดงก็ถูกเด็ดยอดอ่อนทิ้ง มันจะแตกพุ่มอ่อนออกมาอีกจำนวนมาก การดูแลรักษาต้นมะนาวเล็ก คุณมานิตจะเน้นบำรุงดูแลรักษาใบอย่างเดียว ปลูกช่วงมะนาวเล็ก อยากให้ทรงพุ่มสวย ก็ต้องใส่ปุ๋ยเป็นอย่างต้นมะนาวปลูกแล้วเอนไปทางซ้าย ก็ต้องใส่ปุ๋ยข้างขวามากหน่อย ต้นมันจะตั้งตรงขึ้นมา ส่วนต้นพุ่มสวยปกติ ก็ใส่บริเวณทรงพุ่มมะนาว โคนต้นควรสูงราว 1 ศอก ให้โล่งหน่อย ถ้าดูแลรักษาดีต้นมะนาวอายุ 1 ปีก็จะได้พุ่มเกือบ 2 เมตรเลย
ระยะปลูกที่เหมาะสมของต้นมะนาว คุณมานิตแนะนำให้ใช้ระยะปลูก 6 x 6 เมตร เกษตรกรบางรายคิดว่ามันห่างกันเกินไป แต่มะนาวจัดเป็นผลไม้ที่เจริญเติบโตเร็วเพียงอายุต้นได้ 3 ปี ทรงพุ่มก็เกือบจะชนกันแล้ว ถ้าเราปลูกถี่หรือชิดกันเกินไปพอกิ่งมันชนกันตรงส่วนที่ประสานกันนั้นมันมักจะติดผล การดูแลมะนาวเล็กสูตรคุณมานิต สิ่งสำคัญมากคืออย่าให้ขาดน้ำโดยเฉพาะหลังจากที่ย้ายต้นปลูกแต่ปกติเกษตรกรมักจะปลูกกันในช่วงฤดูฝนหรือปลายฤดูฝน ทำให้เรื่องน้ำไม่เป็นปัญหาเท่าไรนัก การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรค – แมลง การดูแลฉีดพ่นทุก 5 – 7 วันต่อครั้ง แมลงศัตรูที่สำคัญในมะนาวเล็กคือ หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ ฯลฯ
ปลูกมะนาวจะต้องตัดแต่งกิ่ง คุณมานิตบอกถึงข้อเสียของเกษตรกรที่ไม่ตัดแต่งกิ่งต้นมะนาว ได้แก่ เกิดความยุ่งยากในการเข้าไปปฏิบัติงานไม่ว่าจะใส่ปุ๋ย รดน้ำ หรือเก็บผลผลิต เพราะถ้าต้นมะนาวมีทรงพุ่มทึบ เมื่อเข้าไปปฏิบัติงานจะโดนหนามมะนาวทิ่มแทงทำให้บาดเจ็บได้, เมื่อทรงพุ่มทึบแสงแดส่องได้ไม่ทั่วถึงการติดผลจะลดลงหรือไม่ติดเลย, เป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง ทำให้ต้นมะนาวอายุสั้นเพราะไม่มีการกระตุ้นให้เกิดสิ่งใหม่ๆ กิ่งเก่าจะแห้งและตายในที่สุด สำหรับข้อดีของการตัดแต่งกิ่ง คือ เข้าไปปฏิบัติงานได้สะดวกไม่ต้องคอยเจ็บตัวกับหนามอันแหลมคมของต้นมะนาว, ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องทั่วถึง ทำให้การติดผลดกและกระจายโดยรอบ, ลดการสะสมของโรคแลแมลง การที่ทรงพุ่มโปร่งแสงแดดจะส่องเข้าได้ทั่วทั้งต้น โรคและแมลงบางชนิดจะลดลงและต้นมะนาวมีอายุยืนเพราะมีกิ่งใหม่ๆมาแทนกิ่งเก่าเสมอ จำไว้เสมอว่า “กิ่งใหม่ออกลูกดีกว่ากิ่งเก่า”
เทคนิคการผลิตมะนาวฤดูแล้งสูตรคุณมานิต อินทรไทยสงค์ ในช่วงเดือนสิงหาคม – เดือนกันยายนคุณมานิตจะสะสมอาหารและสะสมตาดอกด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-52-34 ร่วมกับสาร โปรดั๊กทีฟ เป็นหลัก จะฉีดพ่นช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน จนใบมะนาวเริ่มแก่จัดหรือ “แก่ก้าน” มีใบลักษณะใบสีเขียวเข้มจับใบดูจะกรอบแสดงว่าต้นมะนาวมีความพร้อมที่จะเปิดตาดอก ช่วง 2 เดือนนี้เกษตรกรต้องดูต้นมะนาวของเราอย่าให้แตกใบอ่อนออกมา เราต้องบังคับให้ไปแตกใบอ่อนพร้อมดอกหรือเปิดตาดอกในเดือนตุลาคมเท่านั้น ถ้ามีฝนชุกหรือต้นมะนาวดูงามเกินไปจะต้องเพิ่มอัตราปุ๋ย 0-52-34 เข้าไปอีกจากอัตรา 150 กรัม เป็น 200 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 2 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร
การใช้สารแพคโคลบิวทราโซลหยุดการแตกใบอ่อน วัตถุประสงค์ของการใช้สารแพคโคลบิวทราโซลของคุณมานิตคือการควบคุมไม่ให้มะนาวแตกใบอ่อน ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม – เดือนกรกฎาคม จะเป้ฯช่วงที่เกษตรกรสร้างความอุดมสมบูรณ์ของต้นและเร่งการแตกใบอ่อนของต้นมะนาวให้ออกอย่างน้อย 2 – 3 ชุด เมื่อใบอ่อนรุ่นสุดท้ายเป็นระยะเพสลาดหรือใบเริ่มแก่แล้ว ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมแนะนำให้ฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซลเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแตกใบอ่อนออกมาอีก คุมานิตจะเลือกใช้สารแพคโคลบิวทราโซลที่ความเข้มข้น 15% (เช่น แพนเที่ยม 15%) อัตราที่แนะนำให้ใช้ประมาณ 100-150 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) และเติมสารจับพรีมาตรอน ฉีดพ่นประมาณ 2 – 3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน แต่ในกรณีที่ฝนตกชุกจะฉีดให้ถี่ขึ้นตามความเหมาะสม ช่วงต้นเดือนตุลาคมใบมะนาวจะมีความพร้อมจะ “เปิดตาดอก” โดยใช้สารโปรดั๊กทีฟและสาร”พลี่เอไซม์เป็นหลัก ข้อควรระวังมนการใช้สารเคมีและฮอร์โมนต่างๆในช่วงที่มะนาออกดอก คือ หลีกเลี่ยงการใช้สารฆ่าแมลงที่มีส่วนของน้ำมันและยาร้อน เนื่องจากจะทำให้ดอกมะนาวแห้งและร่วง ช่วงทีมะนาวออกดอก ดอกเริ่มบานต้องระวังเรื่องของเชื้อราเป็นพิเศษ จะเป็นกลุ่มเชื้อราที่เข้าทำลายขั้วดอกและทำใดอกหลุดร่วงเชื้อราที่ใช้ดีที่สุดในปัจจุบันนี้ คือ สารฟลิ้นท์-แอนทราโคลโกลด์ ระยะเลี้ยงผล การฉีดพ่นทางใบใช้สูตรในการขยายผลมะนาวให้โตขึ้นโดยใช้ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน อัตราที่ใช้ประมาณ 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1 – 2 ครั้งห่างกัน 10 – 15 วันต่อครั้ง ผสมไปพร้อมกันกับการฉีดสารปราบศัตรูพืช ปุ๋ยทางดิน จะให้ปุ๋ยสูตร 19-19-19 หรือ 31-10-10 จากสูตรการทำมะนาวนอกฤดูของคุณมานิต น่าจะเป็นแนวทางให้แก่เกษตรกรมือใหม่หรือที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ นำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมด้วยในสภาพของการปลูก สภาพดินปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันอาจเป็นตัวกำหนดในการประสบความสำเร็จของการทำมะนาวเช่นกัน
ในกรณีที่ใช้สารแพคโคลบิวทราโซลราดให้ต้นมะนาวทางดิน, ต้นมะนาวจะต้องมีอายุต้นไม่ต่ำกว่า 3 ปีและมีขนาดทรงพุ่มของต้นไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ที่สำคัญที่สุด คือ จะต้องเป็นต้นมะนาวที่ความสมบูรณ์และมีการดูแลรักษามาอย่างดี จะทำการราดสารแพคโคลบิวทราโซล เช่น แพนเที่ยม 15% ในช่วงเดือนสิงหาคมให้ใช้อัตราต้นละ 30 – 50 กรัมสำหรับต้นมะนาวที่มีอายุต้นประมาณ 5 ปี การราด, ควรจะราดสารในบริเวณโคนต้นมะนาว นำสารแพนเที่ยม 15ผสมกับน้ำจำนวน 5 ลิตร ช่วงแรกของการราดพื้นที่ปลูกมะนาวควรจะมีความชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา ถ้าแห้งแล้งควรจะรดน้ำอย่างสม่ำเสมอหลังจากราดสารไปจะทำให้ตินมะนาวกยุดการแตกใบอ่อน ทำให้เกิดการสะสมอาหาร หลังจากราดสารไปแล้วทางใบควรฉีดพ่นด้วยปุ๋ยทางใบหยุดการแตกยอดสูตร 0-52-34 อัตรา 80 – 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปีป) เพื่อสะสมอาหารและหยุดการแตกยอด ผลจากการทดลองมีแนวโน้นให้เห็นชัดเจนว่า ต้นมะนาวที่ได้ทำการราดสารแพคโคลบิวทราโซลมีการออกดอกที่สม่ำเสมอ ออกดอกติดผลมากขึ้นกิ่งของมะนาวมีขนาดใหญ่ขึ้นใบมีขนาดหนาและมีสีเขียวเข้ม ใบมีการสะสมอาหารมากขึ้น แต่ข้อควรระวังในการบังคับมะนาวให้ออกฤดูแล้งด้วยวิธีนี้มีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้ต้นมะนาวโทรมเร็วกว่ากำหนดได้จะต้องระวังเรื่องความสมบูรณ์ของต้นเป็นพิเศษ

คุณมานิตฝากไว้ว่าการทำมะนาวฤดูแล้งเกษตรกรมักจะพลาดในเรื่องไม่กล้าลงทุน พอช่วงมะนาวราคาถูกก็จะห่างการดูแลและบำรุงรักษา มะนาวเป็นพืชที่ห่างปุ๋ยห่างยาไม่ได้ บำรุงไม่ถึงในช่วงสะสมอาหารต้นขาดความสมบูรณ์ โอกาสประสบความสำเร็จในการผลิตมะนาวฤดูแล้งก็จะน้อยตามไปด้วย


EmoticonEmoticon