วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

แก้วธรรมชาติจากลูกน้ำเต้า ลดปัญหาขยะ ลดโลกร้อน


    คนสมัยก่อนเคยใช้น้ำเต้าเป็นกระบอกใส่น้ำ ตอนที่มันแห้งแล้ว ใส่น้ำลงไปและไม่รั่วเพราะมีผิวที่เคลือบมัน ตอนนี้นักออกแบบจากนิวยอร์กกำลังพัฒนาแก้วกาแฟแบบย่อยสลายทางชีวภาพได้ (biodegradable) จากลูกน้ำเต้า ซึ่งเป็นพืชตระกูลเดียวกับฟักทอง ให้ลูกโตอยู้ในแม่พิมพ์ 3 มิติ เพื่อให้มีรูปร่างเหมือนแก้วกาแฟ ตอนที่เก็บ

แก้ว HyO-Cups ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ 100% ออกแบบโดยเครม ดีไซน์ ร่วมกับจุน ไอซากิ (Jun Aizaki) สถาปนิกมือรางวัลชาวญี่ปุ่น นักออกแบบเห็นว่าน้ำเต้าเป็นพืชที่โตเร็ว และให้ผลมากในแต่ละฤดูกาล มีผิวหนังภายนอกที่แข็งแรงและมีเส้นใยภายใน เมื่อมันแห้ง สมัยก่อนก็เคยถูกใช้แทนแก้วมาก่อนด้วย


เครม ดีไซน์ (Creme Design) บริษัทสถาปนิกและออกแบบ เปิดเผยว่า ตอนนี้บริษัทเริ่มทดลองใช้แก้วกาแฟที่ทำจากน้ำเต้าในสตูดิโอของตัวเองแล้ว ทันยา คอฟแมน (Tania Kaufmann) ผู้จัดการด้านธุรกิจของบริษัทกล่าวว่า ทีมงานได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิธีที่ชาวญี่ปุ่นปลูกแตงโม “คนญี่ปุ่นปลูกแตงโมในแม่พิมพ์จนทำให้ลูกแตงโมออกมาเป็นสี่เหลี่ยม ดังนั้นมันจึงง่ายต่อการขนส่งและจัดเรียง เราเลยคิดว่าจะปลูกน้ำเต้าด้วยวิธีเดียวกันคือปลูกในแม่พิมพ์ที่เป็นรูปแก้ว”

บริษัทใช้ที่หล่อแบบสามมิติเพื่อค้นหารูปร่างที่เอามาใช้งานได้ เช่น ถ้วยและขวดแก้ว เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และย่อยสลายได้โดยปราศจากขยะ พวกเขาใช้เวลา 6 สัปดาห์ปลูกน้ำเต้าที่ใส่น้ำได้ 443 มิลลิลิตร ที่มีขนาดใกล้เคียงกับแก้วกาแฟขนาดกลางของร้านสตาร์บัคส์

แก้วที่ย่อยสลายตามธรรมชาติได้ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ตามท้องตลาดตอนนี้ยังมีส่วนผสมของสารเคมีอยู่ เพื่อไม่ให้แก้วรั่วน้ำ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ย่อยสลายไม่ได้ ดังนั้นมันจึงไม่ใช่แก้วที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจริงๆ

เมื่อปี 2011 มีแก้วกาแฟอย่างน้อย 2.5 ล้านล้านใบที่ถูกทิ้ง และการรีไซเคิลก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแก้วมักจะมีวัสดุอื่นเจือปน เพื่อทำให้มันทนความร้อนหรือกันรั่ว มีรายงานว่าแก้วส่วนใหญ่ราว 99.75% ไม่ถูกรีไซเคิล

แรกเริ่มนักออกแบบปลูกน้ำเต้ากลางแจ้ง แต่มีอุปสรรคหลายอย่าง เช่น สภาพอากาศ ความชื้น สัตว์ จึงเปลี่ยนมาปลูกในตู้คอนเทนเนอร์ที่ทำให้เป็นห้องแล็บ พวกเขามีแผนที่จะปลูกน้ำเต้าในห้องแล็บที่อยู่ในพื้นที่ร่ม

คอฟแมนกล่าวว่า บริษัทเน้นไปที่การสร้างทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับการใช้ถ้วยพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ในอนาคตแก้วนี้จะทำมาจากน้ำเต้าออร์แกนิก และย่อยสลายได้ตามธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์

เธอบอกว่าโลกจะได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์นี้ หากมีการผลิตในปริมาณมาก เป็นทางเลือกหนึ่งนอกจากแก้วกระดาษ ที่ผ่านมาการใช้แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งซึ่งย่อยสลายไม่ได้ทางชีวภาพสร้างปัญหาขยะปริมาณมาก

ที่มา:

https://www.telegraph.co.uk/news/2019/03/17/biodegradable-coffee-cups-grown-bid-cut-plastic-waste/

http://www.3ders.org/articles/20190318-biodegradable-hyo-cups-are-dried-gourds-grown-inside-3d-printed-molds.html

https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-6822091/The-answer-single-use-coffee-cups-Biodegradable-3D-printed-mugs-fruit-waste.html

https://themomentum.co/biodegradable-coffee-cups

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

โรคราดำในมะนาว



   โรคราดำ ลักษณะอาการ ใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำ สกปรกกระด้างทำให้ผลมะนาวไม่สวย ต้นมะนาวจะแคระแกร็น
การป้องกันและกำจัดโรคราดำ เกษตรกรควรทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟหรือใช้โคโค-แม็กซ์ฉีดพ่น อัตรา 5 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร
ฉีดพ่นในตอนเย็นทุก 3-5 วัน จนโรคหายดี

การป้องกันควรกำจัดแมลงฉีดพ่นด้วย ลาเซียน่า
เพื่อกำจัดแมลงประเภทปากกัดปากดูดชึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดโรคราดำ

หากระบาดมากให้ใช้ ลาเซียน่า ร่วมกับ O-BAC
เพื่อเป็นการตัดทำลายวงจรชีวิตของแมลงปากดูด จะได้ผลดีขึ้น

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

โรครากเน่าและโคนเน่าในมะนาว

โรครากเน่าและโคนเน่าในมะนาว


โรครากเน่าและโคนเน่า ลักษณะอาการ รากฝอยและรากแขนงจะเน่ามีสีน้ำตาลหรือดำ
ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกของลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะโคนต้น
และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมากๆ จะทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่น

การป้องกันและกำจัดโรครากเน่าและโคนเน่า เกษตรกรควรอย่าให้มีน้ำขัง
บริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน
และพ่นด้วยโคโค-แม็กซ์ เพื่อกำจัดป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย
สาเหตุของโรค อัตรา 5 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในตอนเย็น
ทุก*กรณีระบาด 3-7 วันครั้ง **กรณีป้องกัน 7-15 วัน/ครั้ง

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

สุดยอดปลูกมะนาว 3,000 ลูก ต่อต้น คุณลุงชาวสวน จนนักวิชาการ..ทึ่ง



สุดยอดปราชญ์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ปลูกมะนาวออกลูกต้นละหนึ่งพันถึงสามพันลูก คนคิดค้นเผยจบ ม.3 ลองผิดลองถูกจนประสบความสำเร็จ

วันที่ 1 มี.ค. นายวโรชา จันทโชติ อายุ 48 ปี เจ้าของสวนมะนาวแป้นวโรชา เลขที่ 8/8 หมู่ 8 ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ได้เปิดเผยว่าได้ปลูกมะนาวพันธุ์แป้นวโรชาในวงปูนโดยไม่ใช้ดิน สามารถออกผลผลิตได้ต่อต้นต่อครั้งถึง 1,000 ลูก และถ้าปลูกในดินสามารถออกผลผลิตได้ต่อต้นต่อครั้งถึง 3,000 ลูก จนเป็นที่ยอมรับของชาวสวนในจังหวัดใกล้เคียง สั่งจองกิ่งพันธุ์จำนวนมาก และมีบางส่วนมาดูงานการเพาะปลูก และเป็นวิทยากรในการปลูกจนได้ผลผลิตจำนวนมาก


นายวโรชา กล่าวว่า ตนเองเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 แล้วได้ออกมาทำสวนปลูกและเรียนรู้จากการฝึกอบรมดูงานทดลองผิดถูกในการเพาะปลูกจนกระทั่งประสบความสำเร็จในการปลูกมะนาวต่อต้นต่อครั้งในวงปูนโดยไม่ใช้ดิน ซึ่งตนเองใช้เศษใบไม้ใบหญ้า ขุยมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบ แกลบดินอย่างละเท่าๆ มูลสัตว์ ฟางข้าว รวมถึงน้ำหมักอีเอ็มผสมกันแล้วโรยปูนมาร์ลเข้าไปเล็กน้อย นำใส่ภาชนะวงปูน แล้วปลูกมะนาวพันแป้นวโรชา และผลิดอกออกผลผลิตตามกิ่งก้านสาขาในแต่ละต้นต่อครั้งได้ถึง 1,000 ลูก


และถ้าเป็นการปลูกลงในแปลงดิน จะทำให้ออกดอกออกผลแต่ละครั้งมากถึง 3,000 ลูก ต่อต้นต่อครั้ง และยินดีเพาะปลูกให้ดูว่าทำได้จริง ถ้าสนใจติดต่อเข้ามาได้พร้อมจะเพาะปลูกให้ดูว่าทำได้จริง และที่เพาะปลูกมะนาวพันธุ์แป้นวโรชา เนื่องจากผิวบางน้ำเยอะ ผลโตเป็นที่ต้องการของท้องตลาดนอกจากเพาะมะนาวจนออกผลผลิตดกแล้ว ที่สวนตนเองยังสามารถเพาะปลูกต้นดาวเรืองสีขาว ทานตะวันสีส้มได้อีกด้วย.

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ปลูกมะนาววงบ่อซีเมนต์ 1 ปี ก็คืนทุนที่เชียงใหม่ ของ ธนวัฒน์ รัตนถาวร Self sufficient farm

ปลูกมะนาววงบ่อซีเมนต์ 1 ปี ก็คืนทุนที่เชียงใหม่ ของ ธนวัฒน์ รัตนถาวร Self sufficient farm

 “การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์มีข้อดีตรงที่ผู้ปลูกสามารถที่จะควบคุมปัจจัยต่างๆได้ เช่น การใส่ปุ๋ย การใส่น้ำ ฯลฯ เพียงแต่ว่า ผู้ปลูกจำเป็นต้องมีความใส่ใจที่ดีเท่านั้น จึงประสบผลสำเร็จได้” นี่คือคำพูดของ คุณธนวัฒน์ รัตนถาวร เลขที่ 109 ม.3 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ เป็นเกษตรกรตัวอย่างอีกรายหนึ่งที่ปลุกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ที่ จ.เชียงใหม่ และเก็บมะนาวขายในฤดูแล้งสามารถคืนทุนได้ภายใน 1 ปี

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

มะนาวแป้นบนต้นตอมะนาวพวง ทนโรคและอายุยืน Self sufficient farm

มะนาวแป้นบนต้นตอมะนาวพวง ทนโรคและอายุยืน Self sufficient farm

การปลูกมะนาวในปัจจุบันเกษตรกรต้องปลูกมะนาวซ่อมกันทุกปี สาเหตุจากต้นมะนาวอายุไม่ยืน (ตายเร็ว)

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เปิดสูตรเด็ดสวนมะนาวเงินล้าน ที่บางคลาน จ.พิจิตร

เปิดสูตรเด็ดสวนมะนาวเงินล้าน ที่บางคลาน จ.พิจิตร

นับเวลาได้กว่า 20 ปี แล้วที่ผมเห็นผลผลิตมะนาวออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มะนาวมีราคาตกต่ำมากที่สุดในรอบปี และจะกลับมาดีอีกครั้งในช่วงเดือนธันวาคมเรื่อยมาจนถึงเดือนมีนาคม และเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มะนาวมีราคาแพงที่สุด (มะนาวหน้าแล้ง) ที่เป็นเช่นนั้นเพราะในช่วงหน้าแล้งผลผลิตมะนาวจะออกน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยที่ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้