วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เปิดสูตรเด็ดสวนมะนาวเงินล้าน ที่บางคลาน จ.พิจิตร

เปิดสูตรเด็ดสวนมะนาวเงินล้าน ที่บางคลาน จ.พิจิตร

นับเวลาได้กว่า 20 ปี แล้วที่ผมเห็นผลผลิตมะนาวออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มะนาวมีราคาตกต่ำมากที่สุดในรอบปี และจะกลับมาดีอีกครั้งในช่วงเดือนธันวาคมเรื่อยมาจนถึงเดือนมีนาคม และเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มะนาวมีราคาแพงที่สุด (มะนาวหน้าแล้ง) ที่เป็นเช่นนั้นเพราะในช่วงหน้าแล้งผลผลิตมะนาวจะออกน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยที่ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้
คุณประเทือง อรรถพล อยู่บ้านเลขที่ 71/1 ม.3 ต.บางคลาน อ.โพทะเล จ.พิจิตร เริ่มปลูกมะนาวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 ช่วงนั้นมะนาวจากสวนขายได้ลูกละเกือบ 5 บาท ผมเห็นเงินแล้วน่าจะมีอนาคตจึงไปดูงานที่สวนลุงจุล เอี่ยมนาม และติดต่อซื้อกิ่งพันธุ์ในราคากิ่งละ 18 บาท (กิ่งตอน)
การปลูกมะนาวในครั้งแรกของคุณประเทืองเหมือนคนไม่มีประสบการณ์ กิ่งพันธุ์ก็เลือกไม่เป็นได้กิ่งแบบไหนมาเราก็ดูไม่ออก ในครั้งนั้นเริ่มปลูกมะนาว 400 ต้น ปลูกไปได้ระยะหนึ่งกิ่งที่ปลูกเริ่มทยอยตาย ส่วนหนึ่งเกิดจากการดูแลไม่เป็นแต่อีกส่วนหนึ่งคือกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรคแล้วเรานำมาปลูกจึงมักจะไม่โต ต้นเหลือง แคระแกร็น สุดท้ายก็ตาย พึ่งมารู้ตอนหลังว่ากิ่งพันธุ์ที่ได้มาติดโรคมาด้วย
ต่อมาในปี 2542 คุณประเทืองได้ไปติดต่อซื้อกิ่งพันธุ์มะนาวแป้นรำไพมาจากจังหวัดกำแพงเพชร กิ่งพันธุ์ที่ได้มาในครั้งนี้เป็นกิ่งตอนที่มีคุณภาพค่อนข้างดี เมื่อนำมาปลูกจึงไม่ค่อยมีปัญหา คุณประเทืองย้ำว่าการเริ่มต้นที่ดีถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง ดังนั้นในการขยายพื้นที่ปลูกมะนาวในแปลงต่อๆไป คุณประเทืองจะใช้วิธีการคัดเลือกจากสวนของตัวเอง โดยคัดต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่เป็นโรคที่สำคัญต้องให้ผลผลิตดกลูกใหญ่
ปลูกมะนาวใช้ระยะปลูกอย่างไร
  1. 1.                                       ปลูกระยะชิด ประมาณ 4 x 4 เมตร จะได้จำนวนต้นต่อไร่ประมาณเกือบ 100 ต้น การให้ผลผลิตในปีที่ 2 และ 3 จะดีมาก เพราะต้นยังเล็กและมีจำนวนต้นต่อไร่สูง เกษตรกรบางรายปลูกมะนาวเพียง 90 ต้น สามารถทำรายได้สูงถึง 150,000 บาท ในปีที่ 3 เหมาะสำหรับคนมีพื้นที่น้อย แต่การปลูกระยะชิด มีปัญหาคือ เมื่อมะนาวมีอายุ 3 ปี ขึ้นไป ทรงพุ่มจะชนกัน วิธีการแก้ไขคือต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งเป็นประจำทุกปีหลังจากเก็บผลผลิตแล้ว หากไม่ตัดแต่งกิ่ง ทรงพุ่มจะทึบ ทำให้ผลผลิตลดลงและมีปัญหาเรื่องโรคแมลงมากขึ้น
  2. 2.                                       ปลูกระยะปานกลาง คือ 5 x 5 หรือ 6 6 เมตร ระนะห่างระดับนี้เป็นที่นิยมกันมากพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 40 ต้น ผลผลิตในปีที่ 2 และ 3 อาจจะสู้ระยะชิดไม่ได้ เพราะจำนวนต้นน้อยกว่าแต่หลังจากปีที่ 3 ไปแล้วต้นมะนาวจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ปริมาณลุกก็จะมากตามระยะปลูกขนาดนี้เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยทั่วไป ที่ใช้แรงงานในครัวเรือนและใช้เนื้อที่จำกัด
  3. 3.                                       ปลูกระยะห่าง คือ 6 8 หรือ 8 x 8 เมตร การปลูกระยะห่างเหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่มากๆ และต้องการความสะดวกสบาย เพราะสามารถนำเครื่องจักรกลเข้าไปทำงานได้ พื้นที่ 1 ไร่สามารถปลูกมะนาวได้ 25 – 30 ต้น ผลผลิตต่อไร่ในปีที่ 2 – 4 จะสู้ 2 แบบแรกไม่ได้แต่เมื่อผ่านปีที่ 4 ไปแล้ว ผลผลิตจะได้สูงมาก เพราะทรงพุ่มจะมีขนาดใหญ่ไม่ชนกัน แสงแดดส่องได้ทั่วทั้งต้นทำให้การติดผลกระจายโดยรอบ การปลูกระยะห่างมีข้อดีอีกประการหนึ่ง คือ สามารถนำเครื่องจักรเข้าไปทำงานในแปลงได้เป็นการทุ่นแรงงานคนได้เป็นอย่างดี แต่การปลูกระยะนี้ไม่แนะนำให้เกษตรกรรายย่อยใช้ เพราะจะได้จำนวนต้นต่อไร่น้อย ขาดรายได้ในช่วง 2 – 3 ปีแรกไปมาก
จะปลูกมะนาวต้องมีระบบน้ำที่ดี มะนาวขาดน้ำจะส่งผลเสียหลายประการ
-          ขาดน้ำในระยะต้นเล็ก จะทำให้ต้นไม่สมบูรณ์แคระแกร็นและตายได้
-          ขาดน้ำในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน จะทำให้มะนาวออกดอกในช่วงฤดูฝนขายไม่ได้ราคา
-          ขาดน้ำช่วงออกดอก จะทำให้ดอกออกน้อยไม่สม่ำเสมอ และดอกหลุดร่วง
-          ขาดน้ำในระยะผลอ่อน ทำให้ผลร่วง
-          ขาดน้ำในระยะผลเล็ก จะทำให้ผลมะนาวไม่โต แคระแกร็นขายไม่ได้ราคา
-          ขาดน้ำจะทำให้ต้นมะนาวเครียด ก่อให้เกิดปัญหาโรคตามมา
ปลูกมะนาวจะต้องตัดแต่งกิ่ง
-                      เกิดความยุ่งยากในการเข้าไปปฏิบัติงานไม่ว่าจะใส่ปุ๋ย รดน้ำ หรือเก็บผลผลิต เพราะหากมะนาวมีทรงพุ่มทึบ ผู้เข้าไปปฏิบัติงานจะโดนหนามมะนาวทิ่มแทง ทำให้บาดเจ็บได้
-                      เมื่อทรงพุ่มทึบแสงแดดส่องไม่ทั่วถึง การติดผลจะลดลง หรือไม่ติดเลย
-                      เป็นแหล่งสะสมของโรค แมลง
-                      ทำให้มะนาวอายุสั้น เพราะไม่มีการกระตุ้นให้เกิดกิ่งใหม่ๆ กิ่งเก่าจะแห้งและตายในที่สุด
ข้อดีของการตัดแต่งกิ่ง
-          เข้าไปปฏิบัติงานได้สะดวก ไม่ต้องคอยเจ็บตัวกับหนามอันแหลมคมของต้นมะนาว
-          ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องทั่วถึง ทำให้ติดผลดกและกระจายโดยรอบ
-                      ลดการสะสมของโรค – แมลง การที่ทรงพุ่มโปร่งแสงแดดจะส่องเข้าได้ทั่วทั้งต้น โรคและแมลงบางชนิดจะลดลง
-                      มะนาวอายุยืน เพราะมีกิ่งใหม่ๆมาแทนกิ่งเก่าเสมอ จำไว้ว่า “กิ่งใหม่ออกลูกดีกว่ากิ่งแก่ๆ”
หลักของการตัดแต่งกิ่งมะนาว ตามปกติแล้วการตัดแต่งกิ่งมะนาว จะเริ่มตั้งแต่ต้นมะนาวมีอายุ 6 – 8 เดือน ในระยะที่ต้นยังเล็กเราจะตัดกิ่งกระโดงหรือกิ่งที่ชิดกับพื้นดินออกเพื่อจัดแต่งทรงพุ่มให้เหมาะสมแต่เมื่อมะนาวโตจนให้ผลผลิตได้แล้วเราจะทำการตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ฉีกหักหรือแห้งตายออกเอาไว้แต่กิ่งที่สมบูรณ์ หากทรงพุ่มตรงไหนทึบก็ตัดออกบ้างให้แสงส่องได้ทั่ว การตัดแต่งกิ่งจะนิยมทำกันหลังเก็บผลผลิตหน้าแล้งเสร็จประมาณเกือบ พฤษภาคม – มิถุนายน
เคล็ดลับการทำมะนาวหน้าแล้ง สูตรคุณประเทือง อรรถพล
  1. 1.                                       เตรียมต้นให้สมบูรณ์ หลังเก็บผลผลิตเสร็จประมาณเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ต้องทำการตัดแต่งกิ่ง เพื่อฟื้นฟูสภาพต้นโดยใช้สารเค-ฮิวเมซึ่งเป็นสารฟื้นฟูดินให้ร่วนซุย และกระตุ้นการแตกใบอ่อน หลังแต่งกิ่งให้ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตราต้นละประมาณ 1 กิโลกรัม เพื่อเร่งการแตกใบอ่อน ส่วนทางใบฉีดพ่นสารในกลุ่มสาหร่ายสกัด รวมกับปุ๋ยทางใบสูตร 18-6-6 หรืออาจจะใช้ปุ๋ยนิวตริไจเซอร์ สูตร 20-20-20 ก็ได้
  2. 2.                                       ดูแลรักษาใบอ่อนให้สมบูรณ์ หลังจากฉีดพ่นปุ๋ยทางใบประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ มะนาวจะเริ่มแตกใบอ่อนพร้อมกันทั้งสวน จะต้องรักษาใบชุดนี้ให้ได้ซึ่งตามปกติแล้วศัตรูที่สำคัญในช่วงนั้นจะเป็นหนอนชอนใบ ฉีดพ่นด้วยสารแจ็คเก็ตหรือโกลแจ๊กซ์ นอกจากนั้นยังต้องเพิ่มความสมบูรณ์ของใบด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบด้วยสูตรเสมอ เช่น สูตร 21-21-21 อีกครั้ง
  3. 3.                                       เร่งสะสมอาหาร จะต้องฉีดพ่นเดือนสิงหาคมเป็นช่วงของการสะสมอาหาร จะต้องฉีดพ่นปุ๋ยตัวกลางและตัวท้ายสูง เพื่อเร่งการสะสมอาหาร เช่น สูตร 0-52-34 หรือ ปุ๋ยเฟอร์ติไจเซอร์ สูตร 3-16-36 ฉีดพ่นประมาณ 3 – 4 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม) ในช่วงสะสมอาหารเกษตรกรบางรายใส่ สารโฟแมกซ์ ลงไปด้วยเพื่อเร่งการสะสมอาหาร
  4. 4.                                       กักน้ำเพื่อให้มะนาวออกดอก ในช่วงเดือนกันยายนจะต้องทำการกักน้ำ เพื่อให้มะนาวเกิดความเครียด และเร่งสะสมอาหาร การกักน้ำที่ดีจะต้องกักน้ำจนใบมะนาวเริ่มเหี่ยวหรือประมาณ 20 วัน
  5. 5.                                       ขึ้นน้ำเพื่อให้มะนาวออกดอก หลังจากมะนาวผ่านช่วงความแห้งแล้งประมาณ 20 วันหรือเมื่อสังเกตเห็นว่ามะนาวพร้อมจะออกดอกให้ทำการรดน้ำมะนาวให้ชุ่ม การให้น้ำจะทำการให้ติดต่อกันประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อมะนาวแตกใบอ่อนจะออกดอกตามมา ดอกชุดนี้จะสมบูรณ์ที่สุด
มีข้อควรระวังคือ มะนาวจะออกดอกเฉพาะในกิ่งที่ไม่มีลูกติด ดังนั้นหากต้องการให้มะนาวออกดอกช่วงนี้จะต้องเก็บผลมะนาวออกให้หมดก่อนจะดึงออก
หลังขึ้นน้ำจะต้องทำการกระตุ้นให้มะนาวออกดอกโดยการฉีดพ่นสารกลุ่มสาหร่ายสกัด ร่วมกับปุ๋ยโปรแตสเซียมไนเตรท อัตรา 250 – 300 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นประมาณ 2 ครั้ง มะนาวจะออกดอกพร้อมกัน หรือบางท่านอาจจะใช้สารคอนเสิร์ตหรือโพลี่เอไซม์ก็ได้
  1. 6.                                       เร่งขนาดผล ป้องกันผลร่วง หลังกลีบดอกโรยจะต้องเร่งให้ปุ๋ยทางใบและอาหารเสริมทางใบโดยฉีดพ่นปุ๋ยสูตรเสมอหรืออาจใช้ปุ๋ยนิวตริไจเซอร์สูตร 20-20-20 ร่วมกับฮอร์โมนและธาตุอาหารรอง เช่น โฟแมกซ์ การฉีดปุ๋ยจะทำให้ผลมะนาวขยายเร็วขึ้นไม่หลุดร่วง ตามปกติจะต้องฉีดปุ๋ยทางใบ 10 – 15 วันต่อครั้งเพื่อเร่งลูกให้โตเร็วๆ
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเคล็ดลับการทำมะนาวหน้าแล้งของคุณประเทืองแต่ในสภาพความเป้ฯจริงแล้วยังไม่พบข้อมูลใดๆ ที่สามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าต้องทำแบบไหนมะนาวจึงจะออกหน้าแล้งได้อย่างแน่นอน ดังนั้นคำพูดที่ว่า “การผลิตมะนาวหน้าแล้งไม่มีสูตรสำเร็จ” จึงเป็นคำพูดที่ถูกต้อง
ปัจจุบันคุณประเทืองผลิตมะนาวขายปีละ 5 เดือน โดยเริ่มเก็บตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤษภาคม ส่วนช่วงเวลาที่เหลือเป็นช่วงของการเตรียมต้นเพื่อผลิตมะนาวในฤดูต่อไป

“มะนาวจะถูกประมาณ 6 – 7 เดือนถ้าปล่อยมะนาวให้ติดตลอดปีจะทำให้ต้นโทรมหน้าฝนถูกมาก ทำมะนาวหน้าแล้งอย่างเดียวสบายกว่า ขายก็ได้ราคา ต้นก็ไม่โทรม”


EmoticonEmoticon