วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จับหอยเชอรี่มาทำเป็นปุ๋ยหมักสกัดชีวภาพ Self sufficient farm

เกษตรกรในจังหวัดนนทบุรี มักจะประกอบอาชีพทำนาทำสวนกันเสียเป็นส่วนใหญ่และมีผลผลิตทางด้านการเกษตรออกสู่ตลาดมากเป็นจังหวัดหนึ่ง แต่การทำการเกษตรในปัจจุบันกลับต้องเจอกับปัญหาหอยเชอรี่ระบาด โดยเฉพะในนาข้าวทำให้ผลผลิตทางด้านการเกษตรได้รับความ เสียหายมากเพราะหอยเชอรี่จะเข้าทำลายพืชเป็นกลุ่มและมีการแพร่ขยายพันธุ์ได้เร็วมาก

การกำจัดหอยเชอรี่ก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน อาจจะใช้สารเคมีฉีดเข้าทำลายโดยตรงเลยก็ได้แต่การใช้สารเคมีนั้นจะทำให้เกิดผลข้างเคียงกับพืชและสัตว์น้ำบางชนิด สารแคมีที่ใช้ฉีดราคาก็ค่อนข้างสูง ทำให้เกษตรกรหันมาการกำจัดหอยเชอรี่แบบวิธีกลแทน คือ การจับมาทำลายโดยใช้ใบมะละกอไปวางไว้ที่แหล่งน้ำใกล้นาข้าว แล้วหอยเชอรี่ก็จะมาจับแล้วนำไปทำลาย ทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นศูลย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร จึงได้คิดค้นกลวิธีที่จะช่วยลดปริมาณหอยเชอรี่ ได้โดยไม่ต้องนำไปทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์ เพราะหอยเชอรี่สามารถนำหมักการหมักหอยเชอรี่เป็นปุ๋ยได้ โดยใช้หลักการเดียวกันกับการทำการเกษตรธรรมชาติ


การทำการเกษตรแบบธรรมชาติ เป็นการเกษตรแบบรักษาความสมดุลของพื้นในการทำควบคู่ไปด้วยโดไม่ใช้สารพิษในการผลิต ซึ่งเรียกการเกษตรแบบนี้ว่า เกษตรออแกนิค (Organic argriculture) หรือการเกษตรยั่งยืน (Sustainnable argriculture) เป็นการปรับสภาพพื้นดินให้มีความสมดุลตามธรรมชาติเหมือนเดิมจัดระบบการผลิตโดยใช้วิธีเกื้อกูลซึ่งกันและกันตามวงจรธรรมชาติและมีการใช้เทคนิคจุลินทรีย์(Microorganism)ที่เป็นประโยชน์เข้ามาเป็นตัวช่วย

น้ำหมักหมักหอยเชอรี่ เป็นน้ำหมักสีน้ำตาลไหม้ที่ได้จากส่วนต่างๆ ของซากพืชและซากสัตว์ที่หมักกับน้ำตาลโมลาสส์(Molasses)ประมาณ 7 วันขึ้นไปแล้วจะได้ของเหลวที่มีทั้งจุลินทรีย์และอินทรีย์หลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการเกษตร การทำและการใช้ประโยชน์จากน้ำหมักหอยเชอรี่เป็นการนำสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เกษตรกรสามารถทำน้ำหมักหอยเชอรี่ ได้เองด้วยวิธีการง่ายๆดังนี้ หาจับตัวหอยเชอรี่หรือไข่ของมันก็ได้นำมาทุบให้ละเอียดหรือบดโดยใช้เครื่องบดจากนั้นเราจะได้จะได้เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือกและน้ำ นำมาผสมรวมกันกับกากน้ำตาล (Molasses)ในอัตราส่วน 1-1 โดนน้ำหนักแล้วนำไปหมักในโอ่งเคลือบใช้เปลือกและใบของ มะกูด ใบกระเพา ตะไคร้ สับเสือ ใบสะเดา สับปะรดใบหรือเปลือกแค ฯลฯ ลงไปด้วยเพราะพืชต่าง ๆ

เหล่านี้กำจัดหรือป้องกันการเข้าทำลายของศัตรูพืชได้เป็นอย่างดีใส่ลงไปให้พอเหมาะกับปริมาณแล้วเติมน้ำมะพร้าวคนให้เข้ากันให้โอ่งอยู่ในที่ร่มประมาณ 7 วันถ้ากลิ่นเหม็นให้เติมกากน้ำตาล (Molasses) คนให้เข้ากันจนกว่ากลิ่นจะหายเหม็นจากที่เราเติมกากน้ำตาล (Molasses) ลงไปทำให้จุลินทรีย์ได้รับสารอาหารเมื่อครบ 7 วันให้คอยสังเกตุว่ามีการเกิดแก็สบนผิวของน้ำหมักหรือเปล่าและจะมีความระยิบระยับน้ำหมักบางครั้งอาจจะมีตัวหนอนเกิดอยู่ ไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้ ให้รอจนตัวหนอนโตเต็มที่และตายไปเองในที่สุด

นายสมศักดิ์ จุ้ยนาม เกษตรกรในพื้นที่ตำบลทวีวัฒนาได้ทดลองใช้น้ำหมักกับต้นส้ม จำนวน 40 ต้น โดยผสมน้ำหมักหอยเชอรี่ในอัตราส่วน 10-20 กับน้ำ 20 ลิตรใช้ฉีดทุกอาทิตย์ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าต้นส้มจะแข็งแรงใบที่แก่จะดำ และแตกใบอ่อนทุกอาทิตย์ เอื้อต่อการติดดอก ไม่มีโรคและศัตรูพืชมารบกวนและเหมาะกับการทำส้มนอกฤดู ที่สำคัญช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มาก เพราะดูจากที่เคยใช้ปุ๋ย 200 กิโล กรัมกับสวน 7 ไร่ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแทบไม่ต้องใช้เลยเพราะปุ๋ยหมักน้ำหอยเชอรี่ป้องกันการข้าทำลายของศัตรูพืชได้ดี นายสงเคราะห์ ชู้แตง ใช้น้ำหมักหอยเชอรี่กับนาข้าว 40 ไร่ โดยใช้ผสมกับปุ๋ยฉีดพ่นในนาข้าวทุกเดือน ทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ต้นสูง น้ำหนักดี ไม่มีโรครบกวน ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยได้มากเพราะจากที่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีถึง 45 ลูก แต่ปัจจุบันลดเหลือแค่ 30 ลูก

จะเห็นได้ว่าการทำการเกษตรแบบเกษตรธรรมชาติช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มาก ช่วยให้พืชสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากศัตรูพืช และยังช่วย รักษาสภาพความสมดุลของธรรมชาติให้คงอยู่เหมือนเดิม เห็นอย่างนี้แล้วกรมส่งเสริมการเกษตรจึงอยากจะเชิญชวนให้เกษตรกรไทย ลองหันมาใช้ปุ๋ยหมักสกัดชีวภาพแบบเกษตรธรรมชาติกันเถอะครับ


EmoticonEmoticon